เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง
คำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ 2. กุลมัจฉริยะ
3. ลาภมัจฉริยะ 4. วัณณมัจฉริยะ
5. ธัมมมัจฉริยะ

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนี่ยว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ
ตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้บุคคลใดละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่

ว่าด้วยความคะนอง 3 อย่าง
คำว่า ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ อธิบายว่า
คำว่า ความคะนอง ได้แก่ ความคะนอง 3 อย่าง คือ
1. ความคะนองทางกาย 2. ความคะนองทางวาจา
3. ความคะนองทางใจ
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็แสดงความคะนองทางกาย
อยู่ในหมู่คณะ ... อยู่ในศาลาโรงฉัน ... อยู่ในเรือนไฟ ... อยู่ที่ท่าน้ำ ... กำลังเข้าสู่
ละแวกบ้าน ... เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว ก็แสดงความคะนองทางกาย
ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด
เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :265 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดง
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะก็ไม่ทำความยำเกรง เมื่อภิกษุ
เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุเถระเดิน
จงกรมบนลานจงกรมต่ำ ก็เดินจงกรมบนลานจงกรมสูง เมื่อภิกษุเถระเดินจงกรมบน
พื้นดิน ก็เดินจงกรมบนลานจงกรม ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบัง
หน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขน
พูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาลาโรงฉัน ก็ไม่ทำความยำเกรง
นั่งแทรกภิกษุเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะภิกษุนวกะบ้าง ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียด
เสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง
ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย
เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด
เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ
สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง
ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดเสียด
ภิกษุเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดเสียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือ
น้ำบ้าง ขึ้นเบียดเสียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดง
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :266 }